Wide Angle ถ่ายภาพให้กว้างอย่างใจคิด

ในตอนนี้เราจะมาว่ากันถึงเรื่อง การถ่ายภาพให้ดู "กว้าง" ว่าพอจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง บางคนก็บอกว่า ถ่ายภาพมุมกว้างก็ไม่ยาก ใช้เลนส์กว้างๆ ถ่ายไปเดี๋ยวมันก็กว้างไปเอง อันนั้นก็ไม่เถียงครับ ยอมรับว่ามีส่วนถูกอยู่มาก แต่ในบางกรณีก็ไม่ทั้งหมด หลายๆ คนเจอปัญหาที่ว่า มีเลนส์มุมกว้างมากๆ แต่เวลาดูภาพที่ถ่ายมา มันรู้สึกว่ากว้างแบบ "ไม่สุด" หรือกว้างแบบไม่ได้ใจเสียที รู้สึกมันแน่นๆ อึดอัดอย่างไรไม่รู้ ในขณะที่เห็นเพื่อนบางคน มีเลนส์มุมแคบกว่าเราอีก แต่ทำไมภาพที่เขาถ่ายมามันดูแล้ว "กว้าง" หรือว่า "ให้ความรู้สึกกว้าง" ได้ดีจังเลย อย่างนี้ที่ว่า มันขึ้นอยู่กับเลนส์นั้น มันใช่เหตุผลเดียวหรือเปล่าที่ทำให้ภาพดูกว้าง หรือว่ามีอย่างอื่นอีก เคยมีบางคนถามเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน เรามาคุยกันในตอนนี้ครับ
อ่านเพิ่มเติม: Wide angle ถ่ายภาพให้กว้างอย่างใจคิด
9 วิธีถ่ายภาพวัตถุเป็นกลุ่มให้ดูเด่น

มีมือใหม่หัดถ่ายภาพคนหนึ่งที่สนใจการขายภาพออนไลน์ ถามผมเกี่ยวกับภาพจำนวนหนึ่งของผมที่มีขายอยู่ในไมโครสต็อก ถึงวิธีคิดหรือวิธีการถ่ายภาพนั้นอย่างไรจึงออกมาในลักษณะที่เขาคิดว่า ตัวเขาเองพยายามถ่ายภาพลักษณะนั้นอยู่บ่อยครั้ง แต่ส่วนใหญ่จะได้ภาพที่ยังไม่เป็นอย่างที่อยากได้เหมือนที่เห็นจากภาพตัวอย่างดังกล่าว หรือจากภาพของนักถ่ายภาพท่านอื่นๆ ที่เคยเห็น เขาบอกว่า ดูเหมือนจะถ่ายง่าย แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ง่ายนัก คำถามนี้ถามสั้น แต่เวลาตอบยากมาก เนื่องจากผมก็คงเหมือนกับนักถ่ายภาพที่ถ่ายภาพมานานมากๆ อีกหลายๆ ท่าน ก็คือเวลาถ่ายภาพ (ส่วนใหญ่) ก็จะถ่ายไปแบบอัตโนมัติหรือตามสัญชาตญาณเสียมากกว่าจะมานั่งคิดว่าจะต้องถ่ายตามหลักนั้นหรือกฏนี้ จริงอยู่แม้ว่าตอนเริ่มถ่ายภาพใหม่ๆ นักถ่ายภาพระดับจริงจังทุกคนก็จะเรียนรู้เรื่องกฎต่างๆ กันอย่างเข้มข้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง และการถ่ายภาพในช่วงแรกๆ ก็มักจะนึกก่อนถ่ายอยู่เสมอว่า ถ่ายแบบนี้เข้ากับกฎอะไรบ้างที่เพิ่งอ่านหรือศึกษามา แต่พอผ่านไปสักระยะ ก็กลายเป็นว่าถ่ายภาพกันโดยไม่ได้หยุดคิดถึงเรื่องกฎต่างๆ กันสักเท่าไหร่ ทั้งนี้ไม่ใช่ว่านักถ่ายภาพมือเก่าจะถ่ายกันแบบไม่มีกฏ ไม่ยึดถือทฤษฎี ไม่มีหลักการนะครับ ทุกคนก็ยังคงมีสิ่งเหล่านั้นอยู่ครบถ้วนเหมือนเดิม เพียงแต่ว่า เป็นการนำมาใช้โดยอัตโนมัติโดยที่ตัวเองก็ยังไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำในบางครั้ง ถ้าจะเปรียบเทียบกับอะไรสักอย่างให้เป็นรูปธรรม ผมขอเปรียบเทียบเหมือนการหัดขับรถยนต์แบบเกียร์แมนนวลทั่วไป ตอนที่หัดขับใหม่ๆ วันแรกๆ เราจะต้องคิดคำนวณอยู่ตลอดเวลาว่า ความเร็วขนาดนี้ควรเข้าเกียร์ไหน รอบเครื่องระดับนี้ควรเหยียบคลัทช์เปลี่ยนเกียร์ได้แล้วยัง โค้งระดับนี้จะต้องลดความเร็วให้อยู่ในระดับไหน ฯลฯ และอื่นๆ อีกมากมายที่จะต้องคิดจะต้องคำนวณ แต่ถ้าขับรถสักพัก ยิ่งยาวนานเป็นปีๆ เราจะพบกว่า เราขับรถระยะทางไกลๆ หรือขับติดต่อกันหลายๆ ชั่วโมง โดยไม่ต้องคอยเพ่งสมาธิอยู่กับการคิดเลยว่า จะต้องทำกระบวนการที่ว่ามานั้นในตอนไหนบ้าง ทุกอย่างมันเป็นไปโดยอัตโนมัติจนเราจำไม่ได้เสียด้วยซ้ำว่า เราคิดเรื่องเหล่านั้นตอนไหนบ้างในการขับรถมานับร้อยกิโลเมตรติดต่อกัน เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว การถ่ายภาพก็คล้ายๆ กันครับ
อ่านเพิ่มเติม: 9 วิธีถ่ายภาพวัตถุเป็นกลุ่มให้ดูเด่น